ป. อา. ก.
=
ปาก
คุณที่รักครับ
... ก็อย่างที่หลาย ๆ คนทราบกันนั่นแหละครับ
ว่า
ปาก !!! ได้ชื่อว่าเป็น ... อวัยวะสำคัญ
... ของมนุษย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้
ปาก ในการสร้าง ปฏิสัมพันธ์ ใน สังคม !!!
“
พูดดี เป็น ศรีแก่ปาก ... พูดชั่ว ปากมีสี ”
ผมเชื่อว่าคุณคงเคยได้ยิน
... คำพูดทำนองนี้ กันมาบ้างเช่นกัน !!!
สุภาษิตไทยโบราณ
... ที่พรรณนาถึงคำว่า “ ปาก ” มีมากมาย
หลากหลาย
ที่มา และ ความหมาย ... ยากจะจาระไนได้หมด
เราลองมาดูกันดีกว่า
... ป. อา. ก. = ปาก
ใน
สุภาษิตไทยโบราณ ... มีอะไรบ้าง ?
เรามาเริ่มเกริ่นกันที่คำแรก
ใช่ว่าแปลกรู้กันมาแต่
... หนหลัง
“
ปากเป็นเอก เลขเป็นโท ” ได้ยินฟัง รู้หรือยัง ... คำพูดนั้นสำคัญกว่าการเรียน
!!!
หากพูดไปไร้ประโยชน์
... นิ่งเสียจะดีกว่า เพราะว่า “
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ”
ป่วยการพูดให้
“ ปากเปียกปากแฉะ ” จะชี้แนะ ไปเท่าไหร่ ? ... ไม่ได้ผล
พูดไปมาก
พูดจนเบื่อ ... หนักกมล พูดเสียจน
... “ ปากฉีกถึงใบหู ” ดูไม่งาม !!!
แต่ก็มีบางคนปากมัน
... อยู่ไม่สุข สร้างเรื่องทุกข์ ให้คนอื่น อยู่เสมอ
“
ปากตำแย ” พูดมากไปจังเลยเธอ อย่าเผลอเลอ
อาจโดนเหน็บเจ็บแทบตาย
กับอีกปาก
... พูดออกไปดูดีแต่คิดร้าย อันตราย
... “ ปากปราศรัยใจเชือดคอ ” !!!
“
ปากคนยาวกว่าปากกา ” จริงไหม ? หนอ ปากสอพลอบอกข่าว ... ไว เหลือหลาย
“
ปากปลาร้า ” พูดไปด่าไป ... คำหยาบคาย เป็น “
ปลาหมอตายเพราะปาก ” รู้หรือยัง ?
ส่วนพวกที่ชอบเปิดเผยเรื่อง
... ความลับ ควรจะนับว่า “
ปากโป้ง ” ... อย่างเหลือหลาย
แต่
“ ปากมาก ” น่ารำคาญพูด ... มากมาย ผลสุดท้าย นำภัยร้ายมาสู่ตัว ...
ชั่วพริบตา !!!
“
ปากไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ” ... ยังเด็กนัก อย่าริรัก ... ก่อนวัยเรียน
ทีเดียวหนา
พูดมากไปก็อายปาก
ญาติระอา “ รอดปากเหยี่ยวปากกา
” มาได้ ก็บุญ
ดีแต่พูด
ทำไม่ได้ ... ใช่ดูถูก เรียนแต่ผูกไม่เรียนแก้
แย่ ... ชิ-หาย
“
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ” ยากจะตาย ยังขวนขยายทำไป ... ทำไม ? กัน
ยากลำบาก
ตรากตรำ ทำงานหนัก ทั้งปากกัด
ตีนถีบ ... จนหัวหมุน
“
ตามใจปาก มากหนี้ ” ... ชุลมุน ไม่มีทุนไปต่อ ... ขอไปที !!!
โบราณว่า
“ สิบปากว่าไม่เท่า ... ตาเห็น ” หรือจะเป็น
ความจริง ... แน่เทียวหรือ ?
เพราะใคร
ใคร เขาพูด ไม่หืออือ ทำไขสือ
แอบเมียงมอง ... เห็นของจริง !!!
ใคร
? บางคน เขาพูดอย่าง ทำอีกอย่าง เขานี้ช่างกลับกลอกหลอกเหลือหลาย
ทำ
“ ปากว่าตาขยิบ ” ปิดแทบตาย จุดมุ่งหมายไม่มี
... หาไม่เจอ
อีกพวกหนึ่งก็
... “ ปากว่ามือถึง ” คนทะลึ่ง ... พูดแล้วทำเวลาเผลอ !!!
“ ปากสว่าง ” เผยความลับของเพื่อนเกลอ เป็นเสมอเพื่อนกัน ... มันเผาเรือน
อีกคนชอบทำตัวเป็น
... “ ผู้ร้ายปากแข็ง ” ชอบตะแบง ดึง ดัน
ดื้อเหลือแสน
“
น้ำท่วมปาก ” ไม่บอกไปแบบ แมน แมน เพราะกลัวแฟนทิ้งไป ... เปลี่ยวอุรา !!! พวก “ ปากหนัก ” ไม่ค่อยพูด ...
ไม่ปรึกษา ไม่พูดจา คุยทักทาย
สนุกสนาน
ทั้งพวก
“ ปากหวานก้นเปรี้ยว ” อีกตั้งบาน ที่วาจาอ่อนหวาน แต่ไม่ ... จริงใจ !!!
และกับพวกชอบ
นินทา ... คุยลับหลัง ให้ระวัง
“ ปากหอยปากปู ” แทงข้างหลัง
“
กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง ” ไม่อินัง รู้เรื่องจัง ... แต่แสร้งทำเป็นไม่รู้ความ
“
มือถือสาก ปากถือศีล ” ระวังให้จงหนัก คนเอ่ยทัก มีศีลธรรม ดีหนักหนา
พอลับหลังไม่มีคน
... เห็นคาตา นี่ล่ะหวา
... คนชั่วช้า สันดานเลว !!!
ส่วนพวกที่เก็บ
ความลับ ... ไว้ไม่อยู่ ใครก็รู้
... “ ฆ้องปากแตก ” แปลกไม่หาย
เรื่องแค่นี้เก็บไม่ได้นะ
... ไอ้ควาย สะดวกดาย
แสนง่าย ... แค่กัดฟัน
ของง่าย
ง่าย “ ปอกกล้วยเข้าปาก ” ฉัน กินทุกวัน
แสนจะดี ... ดีหนักหนา
“ พร้างัดปากไม่ออก ” กรอกลูกตา ปวดอุราก็เพราะเหน็บให้เจ็บใจ
!!!
โบราณว่า
“ เล่นกับหมา หมาเลียปาก ” ลดตัวมาก ... วางตัวไม่เหมาะสม
จนบางทีเผลอไผล
... ถูกลูบคม สนิทสนมกับคนพาล
... บานบุรี
เปรียบเป็น
“ หญ้าปากคอก ” ให้หมองศรี ดูกี่ที
กี่ที ก็ข้ามไป ... มองไม่เห็น !!! ถี่ลอดตาช้าง
ห่างก็ต้อง ... ลอดตาเล็น “
อ้าปากเห็นไรฟัน ” ... รู้ทันกัน
“
อ้อยเข้าปากช้าง ” มีหรือ ? จะได้คืน อย่าไปฝืน ดึงดัน ...
คืนกลับยาก !!!
“ อ้าปากเห็นลิ้นไก่ ” ...
รู้เท่าทัน คำพูดมันพูดออกมา
... รู้ทันที
จบเสียทีกับเรื่องราว
... ที่สืบหา แล้วนำมาบอกต่อกัน
ขมันขมี
เรื่องของ
ปาก พูดชั่ว ... ไปบอกไม่ดี พูดจาดี
... เป็นศรีปาก ไม่ยากนาน !!!
ปิดฉาก
กลอนพาไป แบบฉบับ คนบ้าเขียน ( กลอน )
หากได้ดี
มีประโยชน์ ยกความดีนั้นให้ ... แผ่นดิน
แต่ถ้าไม่ดี
ไม่มีสาระ ก็ ทิ้งมัน ไปซะ ... แค่นี้
เรื่องเล่าจากวันวาร
ตอน
ดาบ
ยุคสำริด
( Bronze
Age )
จากหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้ว่า
“ ดาบ ” ถูกสร้างขึ้นในช่วง ๑,๖๐๐
ปีก่อนคริสต์
ศักราช !!!
ในช่วงปลายสหัสวรรษที่
๓ ก่อนคริสต์ศักราช ในตะวันออกกลาง "ดาบ" ถูกพัฒนาจาก "กริช"
ที่มี ใบมีดยาวกว่าเดิมโดย ในช่วงแรกทำจาก
... ทองแดง-สารหนู ต่อมา เปลี่ยนเป็น ... ดีบุก-ทองแดง
“
ดาบ ” เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบโดย นักโบราณคดี
ขุดได้ที่ Arslantepe ประเทศ ตุรกี
ซึ่งมี
อายุประมาณ ๓,๓๐๐ ปีก่อนคริสตกาล เป็นดาบที่ตีขึ้นจาก “ ทองสัมฤทธิ์ ”
มีความยาวมากกว่า
๖๐ เซนติเมตร
ใบดาบ
... ในยุคแรก นั้นจะถูกตีขึ้นมาในลักษณะที่ เล็กและเรียว เพื่อ เน้นการแทงเป็นหลัก
ต่อมามีการพัฒนา ใบดาบ ถูกตีขึ้นรูปให้กว้างขึ้น เป็นลักษณะ “ รูปทรงใบไม้ ”
เพื่อประโยชน์
ในการ ... ฟันและแทง
ก่อนสิ้น
ยุคสำริด ... ดาบถูกแพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป !!!
ยุคเหล็ก
( Iron
Age )
ในศตวรรษที่
๑๓ ก่อนคริสตกาล มีกานำเอา เหล็ก มาใช้เป็นวัสดุในการตีดาบ
เพราะดาบที่ทำจากเหล็กจะมีคุณภาพดีกว่า และ ... โค้งงอได้ง่าย
กองทัพอียิปต์
หันมาใช้ เกราะและอาวุธ ที่ทำจาก “ เหล็ก ” มากขึ้น แม้ว่า กองทัพอียิปต์ จะมี
อาวุธที่เป็น “
ทองสัมฤทธิ์ ” มากมายก็ตาม โดย ใบดาบ ของกองทัพ จักรวรรดิ Parthian และ จักรวรรดิ Sassanian
จะมี ใบดาบ ค่อนข้างยาว ( แต่ไม่เกิน ๑๐๐ เซนติเมตร) !!!
“
ดาบ ” นอกจากจะใช้เป็นอาวุธในการสู้รบ แล้ว ... ยังถูกนำมาใช้สำหรับการลงโทษ
เช่น การตัด
แขน ตัดขาหรือแม้กระทั้งตัดศีรษะ
“
ดาบ ” ได้รับการยกย่องให้เป็น อาวุธสงคราม ที่มี
เกียรติ และ ทรงคุณค่า เป็นอย่างสูง
โดยเฉพาะใน ยุคโรมัน การใช้ดาบ
นั้นจะถูกสงวนสิทธิไว้สำหรับ ... “ ชนชั้นสูง ” เท่านั้น !!!
ยุคกลาง
(Middle
Ages)
ในช่วงสุดท้ายของยุคกลาง
“ ดาบ ” ถูกใช้เป็น ... อาวุธป้องกันตัวเอง
มากกว่าการใช้ใน ...
การสู้รบ
คุณค่าและความสำคัญ
ของ “ ดาบ ” ถูกลดลงไปอย่างต่อเนื่อง และในช่วงต้นศตวรรษที่ ๑๙
“ ดาบ ”
เริ่ม ล้าสมัย และ ตกยุค ไปเนื่องจาก การพัฒนาของอาวุธสงครามชนิดใหม่นั่นคือ
...
“ ปืน ” !!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น