“
นิยาม คำว่า ... แม่ !!! ”
“
วันแม่ ” วันสำคัญของ ผู้หญิง
ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ แม่ ”
“
อิตถีเพศ ” ที่ให้กำเนิด ชีวิต ที่เป็น “
ทายาท ” ขึ้นมาในโลก
“
แม่ ” คือ
... “ ผู้ให้ชีวิต ” !!!
ควรแล้วที่คนที่ได้ชื่อว่าเป็น
“ ลูก ” ต้องเห็นความสำคัญของ ผู้หญิงคนหนึ่ง
ผู้หญิง
ที่เป็น “แม่ ” ที่ให้ทั้ง ... ชีวิต อนาคต และ ทุกสิ่งอย่าง กับ “ ลูก
”
โดยที่
“ แม่ ” ไม่เคยหวัง อะไร ? เป็น
... “ สิ่งตอบแทน ” !!!
หลากหลายคนเคยให้
“ นิยาม คำว่า แม่ ”
แตกต่างกันออกไป
แต่กับ
“ นิยาม คำว่า แม่ ” ของ “ ผู้เขียน ”
เราลองมาดูกันว่า
... คำว่า “ แม่ ” ของ “ ผู้เขียน ” หมายถึงอะไร ? !!!
“
แม่ ” ที่หนึ่ง “ แม่สี ” ผสมได้ออกมา ... หลากหลายสีสัน
“
แม่ ” ที่สอง “ แม่คะนิ้ง ” เกิดมาพลัน ... สุดเหน็บหนาว
“
แม่ ” ที่สาม “ แม่นาค ” มือแสนยาว ... เก็บมะนาวใต้ถุนเรือน
“
แม่ ” ที่สี่ “ แม่ย่านาง ” ไม่แชเชือน ... ชาว
เรือกราบไหว้บูชา
“
แม่ ” ที่ห้า “ แม่ยาย ” แสนเสียดาย ... ชายโสดไม่อาจมี
!!!
“ แม่ ” ที่หก “ แม่ทัพ ” แม่คนนี้ยิ่งใหญ่ ... ในมวลหมู่ทหารหาญ
“
แม่ ” ที่เจ็ด “ แม่น้ำ ” แสนสราญ ...
เย็นชื่นบาน สดชื่น สบายใจ
“
แม่ ” ที่แปด “ แม่แรง ” มีเอาไว้ เพื่อใช้งาน
... ยามยกของ !!!
“
แม่ ” ที่เก้า “ แม่ยก ” ตามทำนอง รักพระเอก ... นายโรง วงลิเก
“
แม่ ” ที่สิบ “ แม่สื่อ ” ไม่หันเห
เที่ยวเร่ดู ... จับคู่ “ ตุนาหงัน ”
“
แม่ ” สิบเอ็ด “ แม่แบบ ” ไม่พัวพัน ...
เร่งเร็ววัน ต้นแบบ ทำของจริง
“
แม่ ” สิบสอง “ แม่เจ้าพระยา ” ที่ น่าน ปิง
วัง ยม ... ผสมกันเป็นสาย !!!
“
แม่ ” สิบสาม “ แม่ ก.กา ” ผันแทบตาย ผลสุดท้าย
... ตัวสะกด หาไม่มี
“
แม่ ” สิบสี่ “ แม่พลอย ” เป็นบทดี ที่พึงมี
... เลอเลิศ “ สี่แผ่นดิน ” !!!
“
แม่ ” สิบห้า “ แม่เหล็ก ” ดูดได้สิ้น ดูดเศษเหล็ก
เศษตะปู ...ขึ้นสนิม
“
แม่ ” สิบหก “ แม่กุญแจ ” ใช้ให้ชิน บิดปิดล็อค
... ให้สนิท ปิดประตู
“
แม่ ” สิบเจ็ด “ แม่มด ” เป็น กูรู รู้วิชาเวทมนต์
... เสกคาถา
“
แม่ ” สิบแปด “ แม่โขง ” คอสุรา รู้คุณค่า ดีกรีแรง ... แพงหลายเงิน !!!
“
แม่ ” สิบเก้า “ แม่เล้า ” อัปรีย์เกิน
ทำล่วงเกินเด็กสาว ... มาขายกาม
“
แม่ ” ยี่สิบ “ แม่กลอง ” สุดไถ่ถาม สมุทรสงคราม
ชื่อเก่า ... คนถามไถ่
“
แม่ ” ยี่สิบเอ็ด “ แม่ค้า ” นั่นประไร
ขายสิ่งของที่ใคร ๆ ... เขาต้องการ !!!
“
แม่ ” ยี่สิบสอง “ แม่ม่าย ” น่าสงสาร
เพราะโดนผัวทอดทิ้ง ... ให้หมองศรี
“
แม่ ” ยี่สิบสาม “ แม่ไม้ ” ไร้ปราณี ด้วยท่าทีออกอาวุธ
... เชิงมวยไทย
“
แม่ ” ยี่สิบสี่ “ แม่สาย ” เหนือสุดไกล
ถิ่นไทย ... แดนสยาม
“
แม่ ” ยี่สิบห้า “ แม่ครัว ” ไม่มากความ
ทำอาหารอยู่ในครัว ... คั่ว ผัด แกง !!!
“
แม่ ” ยี่สิบหก “ แม่บ้าน ” หลังงานแต่ง
เป็นตำแหน่ง ... หญิงสาวที่มีผัว
“
แม่ ” ยี่สิบเจ็ด “ แม่สายบัว ” รีบแต่งตัว แต่รอเก้อ ... ผัวไม่มา
“
แม่ ” ยี่สิบแปด “ แม่ปู ” หลายหลากขา
แต่เดินเป๋ไปมา ... ดูน่าขัน !!!
“
แม่ ” ยี่สิบเก้า “ แม่นม ” ที่ทุกวันนั่งป้อนนม
ลูกนอกครรภ์ ... จนเติบโต
“
แม่ ” สามสิบ “ แม่เบี้ย ” เขื่องอักโข
ไม่คุยโต แผ่พังพาน ... อวดศักดิ์ศรี
“
แม่ ” สามสิบเอ็ด “ แม่ชี ” คำเรียก หญิงที่บวชเรียน
... ใช้เรียกกัน !!!
คำว่า
“ แม่ ” มีนิยามอีกมากหลาย ทั้ง หญิง / ชาย เรียกขานตามประสงค์
จะ
“ มากน้อย ” แค่ไหน ? ทั่วทุกคน มีใช้กันปะปน ... ปนเปไป !!!
ผมขอจบ
“ นิยาม คำว่า แม่ ” ณ. ที่นี้ ...
เพราะไม่มีเรื่องราวใด ? จะกล่าวขาน
ขอเวลาที่ผ่านไปทุกโมงยาม
... “ อธิษฐานขอวิญญาณแม่ ... ให้อภัย !!! ”
เรื่องเล่าจากวันวารตอน สเต็ก
“
สเต๊ก ” เป็น “ อาหารเก่าแก่ และ ดั้งเดิม ” มีต้นกำเนิดมาจาก ... ประเทศฝรั่งเศส โดย
ออกุส
เอสคอฟฟีเยร์ (Auguste Escoffier) พ่อครัวชาวฝรั่งเศส
เป็นผู้ริเริ่ม โดย เอสคอฟฟีเยร์
เป็นพ่อครัวที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น " บิดาแห่งการครัว " (
King
of Chef & Chef of King )
โดยที่เขาได้ดัดแปลง สูตรเนื้อย่าง ซึ่งสูตรอาหารที่มนุษย์รู้จักกันมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ
ที่นำเอา เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ วางบนไม้ ... ย่างไฟ จนอาหารสุก !!!
ออกุส
เอสคอฟฟีเยร์ เรียกชื่ออาหารของเขาว่า สเต๊ก (steik) เป็น “ ภาษาเยอรมันโบราณ ”
เป็นคำเรียก “ เนื้อที่ตัดเป็นชิ้นขนาดใหญ่หนา
” รวมถึงอาหารที่ใช้เนื้อขนาดใหญ่ไปย่าง
แล้ว
ทานพร้อมกับ ... เครื่องเคียง ต่าง ๆ !!!
สเต๊ก
ได้รับ ความนิยม อย่างรวดเร็วและเผยแพร่ไปทั่วประเทศฝรั่งเศส จนกล่าวกันว่าในสมัยนั้น
“
สเต๊ก ” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “
อาหารที่อร่อยที่สุดในโลก ” เลยทีเดียว
ต่อมา
ความนิยมใน สเต๊ก ข้ามน้ำ / ข้ามทะเลไปสู่ เกาะอังกฤษ และที่นี่เอง สเต๊ก
ได้รับความ
นิยมจากคนอังกฤษเป็นอย่างมาก จนความนิยมแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่ว ทวีปยุโรป !!!
นิยมจากคนอังกฤษเป็นอย่างมาก จนความนิยมแพร่กระจายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่ว ทวีปยุโรป !!!
จนกระทั่งมาถึง
ยุคปฏิวัติอเมริกา นักธุรกิจอเมริกันเริ่มเปิด “ โฮเต็ลสุดหรู ” แบบประเทศ
อังกฤษ และเริ่มทำอาหารฝรั่งเศสเสิร์ฟแขก ซึ่งแน่นอนว่า สเต๊ก ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่าง
รวดเร็วจนแพร่หลายออกไปจนทั่ว ... ทวีปเอเมริกา
อังกฤษ และเริ่มทำอาหารฝรั่งเศสเสิร์ฟแขก ซึ่งแน่นอนว่า สเต๊ก ก็ยังคงได้รับความนิยมอย่าง
รวดเร็วจนแพร่หลายออกไปจนทั่ว ... ทวีปเอเมริกา
แต่คนอเมริกันนั้น
มีคนหลายชนหลายชาติอาศัยอยู่ร่วมกัน ดังนั้น จึงมีการนำเอา “ วัฒนธรรมของ
ชาติ ”
มาประยุกต์เข้ากับการทานอาหาร !!!
ดังนั้น
สเต๊ก ในอเมริกาจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตาม วัฒนธรรมประจำถิ่น ของผู้คน
จากสูตรทำ
สเต๊กในแบบของฝรั่งเศสดั้งเดิม ก็เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด สเต๊ก บางชนิด มี
น้ำเกลวี่ หรือ ซอสพริกไทย ราดหน้า หรือ บางชนิดก็ทานคู่กับกับ ซอสมะเขือเทศ !!!
สเต๊กในแบบของฝรั่งเศสดั้งเดิม ก็เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุด สเต๊ก บางชนิด มี
น้ำเกลวี่ หรือ ซอสพริกไทย ราดหน้า หรือ บางชนิดก็ทานคู่กับกับ ซอสมะเขือเทศ !!!
สเต๊ก
เผยแพร่เข้ามาใน สยามประเทศ ราว รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ในตอนที่ ครัวราชสำนักสยาม
เริ่มเปิดรับการครัวของประเทศฝรั่งเศส สเต๊ก จึงเริ่มถูกเสิร์ฟขึ้นโต๊ะจัดเลี้ยงพระราชอาคันตุกะ
โดยมีหลักฐานเป็น เมนูงานเลี้ยง ในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง อาทิเช่น บิฟ สเต๊กอบกับเห็ด , สันโคย่างโปรตุเกส หรือ สันแกะย่างมาร์ต ฯลฯ
ในสมัยนั้น
สเต๊ก ไม่ใช่ “ อาหารสามัญ ” สำหรับสามัญชน จนกระทั่ง คณะมิชชันนารี
ชาวอเมริกันได้ก่อตั้ง โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ขึ้น และได้มีการจัดพิมพ์ปทานุกรม " การทำอาหารคาวหวานอย่างฝรั่งแลสยาม ซึ่งเป็นตำราทำอาหารฝรั่งและไทยเล่มแรก
และเมื่อ ปทานุกรมฉบับนี้ ได้รับความนิยม จึงทำให้ สามัญชน ได้รู้จักกับ สเต๊ก ตามไปด้วย
และเมื่อ ปทานุกรมฉบับนี้ ได้รับความนิยม จึงทำให้ สามัญชน ได้รู้จักกับ สเต๊ก ตามไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น