คำเตือน !!!
หากคุณได้ยินสียง
จิ้งจกร้องทัก คนโบราณ ท่านกล่าวเอาไว้ว่า “ ห้ามออกจากบ้านเด็ดขาด ” !!!
เพราะ
มันเหมือนกับเป็น ... คำเตือน อันเกิดจากความเชื่อของ คนโบราณ
ที่เล่าสืบต่อกันมา ซึ่งบางเรื่องก็พิสูจน์ไม่ได้ ... แต่ไม่ว่าจะพิสูจน์ได้หรือไม่ได้ก็ตาม
... หาก “ เชื่อแล้วสบายใจ ” ก็จงเชื่อกันต่อไป
แต่ถ้า
“ ใคร ? ไม่เชื่อ ก็อย่าลบหลู่ ” ... !!!
ผมว่า
... ฟังหูไว้หู ก็แล้วกัน !!!
เพราะ
คำเตือน ตามความเชื่อของคนโบราณนั้น เป็นเหมือนกับ กุศโลบาย ที่คอยเตือนผู้คน
ให้ใช้ความระมัดระวังตัว อย่าประมาท ... ก่อนที่จะเกิดเรื่องร้าย ๆ ขึ้นมา !!!
คำเตือน
เป็น เรื่องดี แต่บางที คำเตือน ก็ดู ทะแม่ง ทะแม่ง ชอบกลอยู่ ...
ตัวอย่างเช่น
... คำเตือน หลากหลายเหล่านี้ ที่หลาย ๆ คนเคยเห็นผ่านสายตากันมาแล้ว
ลองอ่านดูละกันนะครับ ... แล้วบอกผมทีว่า มัน ทะแม่ง ทะแม่ง
อย่างที่ผมว่าหรือเปล่า ?
1.
คำเตือนข้าง ... กล่องยากันยุงแบบขด
“ วัตถุมีพิษ ห้ามรับประทาน ”
คนจะฆ่าตัวตาย ไม่สนหรอกครับ !!!
2.
คำโฆษณาชวนเชื่อบน ... ถุงขนมขบเคี้ยว
“ คุณมีสิทธิ์ได้รับรางวัลโดยไม่จำเป็นต้องซื้อ
โปรดอ่านรายละเอียดในซอง ”
ถ้าไม่ซื้อขนมจะไปฉีกซองได้เหรอครับ!!!
3.
วิธีใช้อุปกรณ์ติดอยู่บน ... กล่องสบู่
( ยี่ห้อดัง )
“ เหมือนสบู่ทั่วไป ”
แล้วมันจะบอกทำไม? วะ !!!
4.
วิธีใช้อุปกรณ์ติดอยู่บน ... กล่องอาหารแช่แข็ง
“ โปรดอุ่นก่อนรับประทาน ”
ใคร ? โง่กินทั้งที่มันแข็งเป็นก้อนน้ำแข็ง
... ก็ปล่อยมันไปเถอะ !!!
5.
คำเตือนติดบน ... เครื่องเป่าผมไฟฟ้า
“ ห้ามใช้ขณะหลับ ”
เออ ... รู้แล้วโว๊ย ฮาววววววว !!!
6.
คำเตือนพิมพ์อยู่ด้านใต้ ... กล่องเค้ก
( ขายในซูเปอร์ มาร์เกต )
“
ห้ามคว่ำกล่อง ”
ใคร ? มันจะไปทำอย่างนั้น
!!!
7.
คำเตือนบน ... กล่องซาลาเปา ( ร้านสะดวกซื้อ
)
“ อาหารจะร้อนเมื่อนำเข้าไมโครเวฟ ”
แบบนี้ ไม่ต้องบอกก็ได้นะ !!!
8.
คำเตือนบน ... กล่องเตารีด
“ ห้ามใช้รีดผ้าขณะที่สวมใส่ ”
เออ ... ตรูคงรีดเสื้อบนตัวแทนที่รองรีดหรอกนะ
!!!
9.
คำเตือนบน ... กล่องยาแก้หวัดเด็ก
“ ห้ามขับรถ
หรือคุมเครื่องจักรขณะรับประทานยานี้ ”
ลูกตรู ... ยังไม่เข้าเตรียมอนุบาลเลย !!!
10.
คำเตือนบน ... กล่องยานอนหลับ
“ อาจทำให้ง่วงเมื่อใช้ยานี้ ”
จะบอกทำไม ตรูกินก็เพราะตรูอยากจะ ง่วง
แล้วก็ นอน !!!
11.
วิธีใช้บน ... กล่องไฟประดับฉลองปีใหม่
“ ใช้สำหรับภายในหรือภายนอกอาคาร ”
ไม่บอกไม่รู้เลยว่ะ
!!!
12.
วิธีใช้บน ... กล่องถั่วกระป๋อง (
ยี่ห้อดัง )
“ เปิดกระป๋องแล้วรับประทานถั่ว ”
ขอบคุณที่บอก ... ไม่เปิดกระป๋อง ตรูจะ แ-ก ... ยังไง
!!!
13.
คำเตือนบน ... ชุด ไอ้แมงมุม ( ของเด็ก )
“ คนสวมใส่เสื้อผ้านี้ไม่สามารถทำให้
... ปีนกำแพงได้ ”
อ้าว ... ทำไมมาบอกตอนนี้ ไม่บอกไม่รู้นะเนี่ย
!!!
และจบด้วย
“ คำเตือน ” ที่ ผมแอบนำเอาของ คุณประยูร จรรยาวงศ์ หรือ นายศุขเล็ก
มาใช้บ่อย ๆ ... ขอบคุณครับ !!!
ท่านว่า
... “ สัปดน วันละนิด จิตแจ่มใส ”
เรื่องเล่าจากวันวารตอน ยาหม่อง
ต้นกำเนิด
ยาหม่อง มาจาก ๒ พี่น้อง โอวบุ้นโฮ้ว( TIGER
) และโอวบุ้นปา ( LEOPARD
) ลูกชาย โอวชูคิน แพทย์สมุนไพรประจำราชสำนักของพระจักรพรรดิของจีน
ชาวเมืองเอหมึง มลฑลฮกเกี้ยน ที่อพยพไปทำการค้า โดยเปิดร้านรับรักษาคนไข้อยู่ในกรุงย่างกุ้ง
ประเทศพม่า ( เมียนมา )
ปี
ค.ศ. ๑๙๐๘ โอวชูคิน เสียชีวิตลง สองพี่น้องจึงได้เริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเองในนาม
โฮ้วปา คอร์เปอร์เรชั่น ด้วยการผสมผสาน วิทยาการสมัยใหม่ จากตะวันตก กับ วิชาแพทย์สมุนไพร
ที่ได้รับสืบทอดต่อจากบิดาเข้าด้วยกัน และผลิต ไทเกอร์ บาล์ม หรือ ยาหม่องตราเสือ
ออกจำหน่าย โดยพวกเขาตั้งชื่อสินค้าตามความหมายของชื่อพวกเขา และใช้โลโกสินค้าเป็นรูป
... เสือ !!!
กิจการของทั้งคู่ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย
ยาหม่องตราเสือ ได้รับความนิยมไม่เฉพาะใน ประเทศพม่า
แต่ยังถูกส่งออกขายในประเทศใกล้เคียงทั้ง มาเลเซีย / สิงคโปร์ และ ประเทศไทย
ในปี
ค.ศ. ๑๙๒๐ ในขณะที่ทั้งคู่ อายุยังไม่ถึง
๔๐ ปี แต่ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็น คนจีนที่ร่ำรวยที่สุด คู่หนึ่งในกรุงย่างกุ้ง
ในปี
ค.ศ. ๑๙๒๖ สองพี่น้องได้ขยายกิจการมาเปิดโรงงานที่
ประเทศสิงคโปร์
ระหว่าง
มหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ( ปี ค.ศ.
๑๙๓๙ ถึง ปี ค.ศ. ๑๙๔๕ ) โรงงานยาหม่องตราเสือ ทั้งที่ในประเทศพม่า และ ประเทศสิงคโปร์
ปิดตัวลงชั่วคราว สองพี่น้อง
โอวบุ้นโฮ้ว และ โอวบุ้นปา ได้อพยพไปลี้ภัยอยู่ที่ ฮ่องกง
ปี
ค.ศ. ๑๙๔๕ ก่อนสงครามโลกสิ้นสุดเพียง ๑ ปี โอวบุ้นปา ได้เสียชีวิตลง
และเมื่อ
มหาสงครามโลก ครั้งที่ ๒ สงบลง โอวบุ้นโฮ้ว ผู้พี่ได้กลับมาเปิดโรงงานที่
ประเทศสิงคโปร์ ขึ้นมาใหม่ และ ขยายธุรกิจออกไปได้อย่างกว้างขวาง
ปี
ค.ศ. ๑๙๕๔ โอวบุ้นโฮ้ว เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวาย
ทิ้งกิจการที่ได้ขยายกลายเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ไว้ให้กับ คนรุ่นลูก เป็นผู้ดูแล
แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่ เจเนอเรชั่นที่
๒ ไม่สามารถรักษาความเป็นเจ้าของไว้ได้
หลังจากที่ โฮ้วปา คอร์เปอร์เรชั่น ได้เข้าจดทะเบียนใน ตลาดหุ้นสิงคโปร์
ในปี ค.ศ. ๑๙๖๙ กิจการของ โฮ้วปา คอร์เปอร์เรชั่น ได้มีการเปลี่ยนมือเจ้าของอยู่หลายครั้ง
ปัจจุบัน
ยาหม่องตราเสือ มีการส่งออกไปขายกว่า ๑๐๐ ประเทศ ใน ๖ ทวีปทั่วโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น