แมว กับ ภรรยา
ภรรยา
กับ แมว .... มีอะไรที่คล้ายกันหลายอย่าง
จากประสบการณ์
ทาสแมว ( คุณโชกุน ) เปรียบเทียบกับประสบการณ์ ทาสภรรยา ... !!!
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เต็ม ๆ ...ไม่มีขาด ไม่มีเกิน
เพราะทุกวัน
นอกจากจะต้อง ทำงาน ตัวเป็น เกลียว หัว เป็น น็อต
เพื่อบริการรับใช้ นายผู้หญิง
อันเป็นหน้าที่ประจำของ สามี ผู้เป็น ทาสในเรือนเบี้ย แล้ว ยังต้องมามีอีกหนึ่งหน้าที่รับใช้
นายผู้ชาย ( คุณโชกุน : แมวตัวผู้ ) ทั้ง
หาอาหาร เก็บอึ เก็บฉี่ พาไปเดินเล่น ปัดขน ... โอ๊ย ! สารพัดจิปาถะ
แยกไม่ออกว่างานไหน
งานแมว งานไหน งานคน ... เพราะงานไหน งานไหน ก็ต้องทำ
มันเป็น
กรรม ครับ ... กำที่ไม่ต้องแบ
ทีนี้เรามาดูกันดีกว่า
:
ภรรยา กับ แมว คล้ายกันตรงไหน ?
เจ้าอารมณ์
ขี้หงุดหงิด เอาแต่ใจ
บางครั้ง
คุณโชกุน ก็เจ้าอารมณ์
ทางทีผมอยากจะอุ้มมันเล่นด้วยความเสน่หา แต่ดันผิดจังหวะ ... มันหงุดหงิด
เลยออกอารมณ์ใส่เรา งับเข้าซะงั้นจมเขี้ยว ส่วน ภรรยา ก็ออก อาการพื้นเสีย แบบนี้เหมือนกัน
เพราะบ่อยครั้งเลยที่ อยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไร ? เธอก็ออกอาการวีนใส่ซะอย่างนั้น !!!
(
แบบนี้ ตรู เรียก ... ผีเข้า ผีออก ได้มั๊ย )
อ้อนแบบไม่มีปี่
มีขลุ่ย
ในบางวัน
บรรยากาศธรรมดา ไม่มีอารมณ์โรแมนติก อยู่ดี ๆ ภรรยา ก็มาฟอร์มแปลก ยิ้มสดใส
อารมณ์ดี ทำดีเช้าใส่ พูดจาดี ทำดี ทั้งที่ไม่ใช่โอกาสพิเศษใด ๆ ทั้งสิ้น ในขณะที่
คุณโชกุน เองก็เดินกระดิกหาง มาเคล้าคลอเคลียอยู่ใกล้ ๆ เสียอีก
!!!
(
บ่อย ๆ ครั้งที่เป็นแบบนี้ ... แต่ก็ดีนะ )
รักสวยรักงาม
ทุกเช้า
ในขณะที่ผมเช็ดรถคันโปรดของเธอ ภรรยา ก็กำลังแต่งหน้า แต่งผม
หลังจากทาครีมสารพัดแล้ว เสียเวลาไปเป็นนานสองนาน ก็คงจะพอ ๆ กับ คุณโชกุน
ที่ทั้งวัน ถ้ามันไม่นอนหลับเป็นตาย ก็ ทำความสะอาด ล้างหน้า เลียขน
!!!
(
ถ้า ไก่งามเพราะขน แมวก็คงจะงามเพราะแต่งเช่นกัน )
อาร์ตสุด
ๆ ไม่เข้าใจว่า ... คิดอะไรอยู่
บางครั้งอยู่ดี
ๆ คุณโชกุน เธอคงนึกสนุกขึ้นมาก็เลยกระโดดมาเกาะหลัง หรือ
คลอเคลียอยู่ที่เท้า โดยที่ไม่ได้เรียกขาน แต่บางทีแหกปากเรียกให้ตายเถอะ
พ่อคุณพ่อทูนหัวนอนเฉยเสียนี่ เรียกไปเท่าไหร่ก็ไม่สนใจ มาทางเดียวกับ ภรรยา บางครั้งก็เงียบเป็นเป่าสาก
ไม่พูด ไม่จาก หรือ บางที ก็ ... พูดจ้อไม่หยุด !!!
(
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสีย เธอก็เลย จัดให้ )
มีความเป็น
ตัวตน สูง
กลุ้มใจมาก
ๆ กับ คุณโชกุน บางเวลาบอกให้ มันทำอะไร ? จะเฉย ไม่ทำ นอนกระดิกหาง แต่ถ้าหากทำแล้วจะทำมากจนเกินความจำเป็น
ส่วน ภรรยา ผมบอกอยากกิน ข้าวราดแกงกะหรี่
เธอนิ่งเงียบ แต่พอเธอนึกอยากทำขึ้นมา
ก็เล่นทำซะจนพูนหม้อ ทั้ง ๆ ที่ ... เธอไม่ชอบกิน !!!
(
สงสัย ... จะให้กินทีเดียว อิ่มไปเป็นปี )
ต้องคอยตามใจ
ราว ทาสในเรือนเบี้ย
กิจวัตรประจำวัน
ผมต้องคอยจัดหาอาหารให้ คุณโชกุน ทั้ง อาหารเปียก อาหารเม็ด พออาหารแมวใกล้หมด ผมก็ต้องขับรถฝ่าการจราจรออกไปซื้อ
เหมือนกับที่ ผมต้องเดินตากฝนไปที่หน้าหมู่บ้าน ... ซื้อ ยำมาม่า ให้ ภรรยา !!!
(
เมืองสยาม ฯ เลิกทาสไปแล้วนะ)
อ่อนแอ
บอบบาง แต่แฝงด้วยอำนาจ
คุณโชกุน
หวงแหนอาณาเขตในบ้าน ใครคิดมารุกล้ำพื้นที่ เป็นไม่ยอม ... สู้ไม่มีถอย ภรรยา ก็เหมือนกันล่ะครับ ...
ผมปะทะคารมกับเธอ เมื่อไหร่ ? เธอเองก็สู้ไม่ถอยเช่นกัน
จนในที่สุด ผมเองล่ะครับที่เป็นฝ่ายถอย...ยอมแพ้ไปทุกครั้งครา !!!
(
เพราะขืนเถียงสู้ไป ... ก็ไม่เคยชนะสักกาครั้งเดียว )
แมว
กับ ภรรยา คล้ายกันมากเลยใช่ไหมครับ !!!
ใคร
?
เป็น ทาสแมว ... ยกมือขึ้น
ใคร
? เป็น ทาสภรรยา ... ยกมือขึ้น
เรื่องเล่าจากวันวารตอน ซิป
ซิป
: zip : zipper : zip fastener = อุปกรณ์ที่ช่วย ยึดติดปลาย ทั้ง ๒ ของผ้า
เข้าด้วยกันไว้ชั่วคราว
ในปี
ค.ศ. ๑๘๙๓ วิตคัมบ์ จัดสัน ( Whitcom
Judson ) วิศวกรชาวอเมริกัน
ได้ออกแบบและประดิษฐ์ ห่วงเกี่ยว
ใช้สำหรับ ติดรองเท้าบู๊ต แทนที่ การกลัดกระดุม ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนั้น
แต่
ในช่วงนั้น สิ่งประดิษฐ์ของเขากลับไม่ได้รับความนิยมเท่าไรนัก
จนต่อมาอีก
๒๐ ปี ในปี ค.ศ. ๑๙๑๓ กิเดียน ซุนด์แบค ( Gideon
Sundback ) วิศวกรชาวสวีเดน-อเมริกัน
ได้ค้นพบ ห่วงเกี่ยวแบบใหม่ ที่เรียกว่า Hookless ( ไร้ตะขอ
) โดยทำเป็น ห่วงเกี่ยว ๒ แถวหันหน้าเข้าหากัน และมีอุปกรณ์สำหรับรูดห่วงเกี่ยวเข้าหากันเพื่อยึดมันเข้าหากันและยังสามารถเลื่อนห่วงเกี่ยวให้แยกออกจากกันเพื่อเพิ่มช่องว่างระหว่างห่วงเกี่ยว
และต่อมาเขาได้สร้าง
เครื่องจักรผลิตห่วงเกี่ยว และ เครื่องติด ห่วงเกี่ยว เข้ากับ แถบผ้า
จนในปี
ค.ศ. ๑๙๑๘ สิ่งประดิษฐ์ของ ซุนด์แบค
ได้รับความนิยม หลังจากที่ กองทัพเรือสหรัฐ ได้สั่งซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว จำนวน๑๐,๐๐๐
ชิ้น เพื่อนำมันไปติดเข้ากับ ชุดกันลม ให้นักบิน
คำว่า
Zipper เป็นชื่อที่ตั้งโดย บี.เอฟ.
กูดริช ในปี ค.ศ. ๑๙๒๓
ซึ่งเขาตั้งชื่อเลียนเสียงการเคลื่อนไหว ในขณะที่ มันถูกรูดให้ทำงาน ...
เปิด หรือ ปิด
กิเดียน
ซุนด์แบค เสียชีวิตจากโรคหัวใจในปี ค.ศ. ๑๙๕๔ ต่อมา เขาได้รับเกียรติเป็น นักประดิษฐ์แห่งชาติ
ในปี ค.ศ. ๒๐๐๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น