เรื่องชวนหัว ฉบับ หลวงตา
พบกันวันนี้
ผมหยิบเอา ... เรื่องชวนหัว จากอดีต ฉบับ หลวงตา ที่ครั้งหนึ่ง เมื่อตอนที่ผมได้เคย
อาศัยใบบุญ พึ่งหลังคากุฏิวัดหลบฝน และประทังความหิวจาก ข้าวก้นบาตร ของ หลวงตา ซึ่งท่านเคยเล่าเรื่อง ชวนหัว เหล่านี้ให้ญาติโยมได้ฟังกัน
ยามที่ท่านขึ้นธรรมมาตร เทศนาโปรดสัตว์ !!!
หลวงตา
ท่านเป็น พระสงฆ์ชรา ที่น่านับถือเป็นอย่างยิ่ง
ท่านเป็นพระน้ำดี ที่คอยสั่งสอน ทุกผู้นามให้ ปฏิบัติดี ประพฤติชอบ ไม่มั่วอบายมุข
ละกิเลส ละตัณหา อันจะพาไปสู่ทางเสื่อม ทำตัวให้เป็นประโยชน์กับสังคม
ไม่มอมเมาอุบาสก อุบาสิกา หรือ ญาติธรรม ให้หลงใหลได้ปลื้มไปกับ เครื่องราง
ของขลัง อ่างน้ำมนต์ หรือ วัตถุมงคลต่าง ๆ
น่าเสียดายที่ท่านมรณภาพไปเสียแล้ว
... !!!
ซึ่งก็น่าที่จะเป็นดีต่อหลวงตาท่านเป็นอย่างมาก
เพราะหากว่าวันนี้ ... ท่านมีชีวิตอยู่ ก็คงจะรู้สึกหดหู่ไปกับ
วิวัฒนาการนานัปการในหนทางสู่ ... ความเสื่อมของพุทธศาสนา ที่
สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลางรูป บางองค์ ได้กระทำอย่างเปิดเผย ทั้งในที่ลับ
หรือ ที่แจ้ง !!!
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
จบเรื่องราวใน
ดงขมิ้น แต่เพียงเท่านี้ เรากลับมาเข้า
... เรื่องชวนหัว ฉบับ หลวงตา กันดีกว่าครับ
สยามประเทศ
เมื่อครั้งใน รัชสมัย สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ อันเป็น ยุคเริ่มต้นแห่งความเจริญ
ตามรอยอารยะประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สยามประเทศ ในวันนั้น บนถนนหนทางเต็มไปด้วย ผู้คนชาวต่างชาติ
เดินกันขวักไขว่ ทำให้คนสยาม ต้องรับเอาวัฒนธรรมของคนต่างชาติไว้อย่างช่วยไม่ได้
เช่น การแต่งกาย หรือ การพูดจา
ที่ออกสำเนียง ฟุต ฟิต ฟอร์ ไฟร์ หรือ ไทยคำฝรั่งคำตามไปด้วย
วันหนึ่งที่หัวมุมถนน
...
ชายไทยหนุ่มใหญ่
ในชุดสูทสากลผูกหูกระต่าย ท่าทางภูมิฐานเดินวางมาด
ผู้ดีอังกฤษ เดินลัดหัวมุมถนนปากซอยออกมาตรงไปย่านการค้าที่อยู่เบื้องหน้า
พลันต้องชะงักเท้าลง เมื่อพบปะกันโดยบังเอิญกับ ชายหนุ่ม ท่าทางซอมซ่อคนหนึ่ง
ชายซอมซ่อ
ยากไร้ ทักทายหนุ่มใหญ่คนนั้น
“
อาฟซะเตอร์นูน มิสสะเตอร์ ... เอ้อ !!! ดะ ดู ยู
แฮฟ ... บุไหร่หมี ? ”
“
โน ...โนแฮฟ ... ไอ ... แท้ว ไป ลิ้ง ”
หนุ่มใหญ่ตอบกลับมองด้วยสายตาเหยียดหยามคนจรหมอนหมิ่น
“
โอ ... มายก๊อด ... อาร์ ยู ... ไท้ ที นิ่ง ? ” ชายหนุ่ม ถามระล่ำระลัก
“
ทอย ปาก ซิ้ง ...”
หนุ่มใหญ่กระชากเสียงตอบ ก่อนเดินจากไป
ชายหนุ่ม
ยืนนิ่งครู่หนึ่ง ก่อนที่จะออกวิ่งไปที่ ... หน้าปากซอย !!!
หมายเหตุ
: ไม่มีคำแปลครับ
เอาน่า
... ผมรู้ว่าคุณรู้แล้วว่า สองหนุ่ม นี่พูดกันเรื่องอะไร ?
เรื่องเล่าจากวันวาร
ตอน ขนมเบื้อง
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
ขนมเบื้อง
ขนม ที่เป็น แป้งแผ่นบางกรอบ สอดไส้ด้วยไส้ คาว หวาน ขนมไทย ที่เราหลาย ๆ
คนรู้จักกันมาเป็นอย่างดี แต่ความจริงแล้ว
ขนมเบื้อง ไม่ได้ใช่ ... ขนมไทย
อย่างที่เข้าใจ เพราะต้นตำรับเดิมนั้นเป็นของ
ชาวอินเดีย โดย พราหมณ์ นำขนมเบื้องเข้ามาในสยามประเทศ ตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัย
จากหลักฐานภาพเขียนในวัดแห่งหนึ่งที่ เมืองสุโขทัย และสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในบทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน และ
ยังเป็นขนมที่ใช้ใน พระราชพิธีเดือนอ้าย ที่บันทึกไว้ใน บทพระราชนิพนธ์
ความเรียง ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน และยังมีหลักฐานกล่าวถึง ขนมเบื้อง ในคำให้การขุนหลวงหาวัด
ว่า บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก
แลกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง
ซึ่งหากจะกล่าวกันไปแล้ว
เส้นทางของ ขนมเบื้อง มีต้นสายยาวนานมานับตั้งแต่
สมัยพุทธกาล เลยทีเดียว โดยได้มีการจารึกเรื่องราวเอาไว้ในหนังสือ ธรรมบทเผด็จ
กล่าวกันถึง ท่านเศรษฐีโกสิยะ ซึ่งเป็นคหบดีมหาเศรษฐี
ที่มีนิสัยตระหนี่ถี่เหนียวเป็นที่สุด วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีเกิดนึกอยากกินขนมเบื้องขึ้นมา
จึงให้ภรรยาตนแอบขึ้นไปทำขนมเบื้องบนปราสาทชั้นเจ็ด
เพื่อจะได้ไม่ต้องแบ่ง ขนมเบื้อง ให้ใคร
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทราบได้ด้วยญาณบารมี จึงให้ พระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกไปขอรับบิณฑบาตขนมเบื้อง
จากท่านเศรษฐี ท่านเศรษฐีเสียมิได้จึงสั่งให้ภรรยาทำขนมชื้นเล็ก ๆ เพื่อนำมาถวายต่อพระพุทธเจ้า
แต่ทุกครั้งที่ ภรรยาละเลงแป้งขนมลงไปบนกระทะ
แป้งกลับฟูขึ้นมาจนเต็มกระทะ
เมื่อท่านเศรษฐีเห็นดังนั้นก็เสียดาย
เลยให้ ภรรยา ทำขนมขึ้นมาใหม่ แต่ทุกครั้งที่แม้ว่า แป้ง จะมีจำนวนน้อยนิดเพียงใด ก็ตาม
แป้ง ก็จะฟูขึ้นมาเต็มกระทะแทบทุกครั้ง
จนในที่สุดท้าย ท่านเศรษฐี จึงละความพยายาม และยอมถวายขนมเบื้องขนาดปกติถวายให้พรนะพุทธเจ้า
พระโมคคัลลานะ
เห็นว่าท่านเศรษฐีได้รับบทเรียนแล้ว ท่านจึงเทศน์เรื่อง โทษของความตระหนี่ ให้ท่านเศรษฐีและภรรยาฟัง
พอท่านเศรษฐีโกสิยะและภรรยาได้รับฟังแล้ว ก็บรรลุถึงธรรมะทั้งคู่ และเปลี่ยนมาเป็น
... คนใจบุญ !!!
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
การละเลงแป้งขนมเบื้องให้สวยงามเป็น
แผ่นบางกรอบ สวยงามนั้น ในสมัยโบราณถือว่าเป็น คุณสมบัติอย่างหนึ่งของ กุลสตรีไทย ดังที่ปรากฏใน บทเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน
นิทานมหากาพย์พื้นบ้านของไทย ในตอนที่ พระไวย สั่งให้ภรรยาทั้งสองคือ นางศรีมาลา
ลูกสาวเจ้าเมืองพิจิตร และ นางสร้อยฟ้า ธิดาเจ้าเชียงใหม่ ทำขนมเบื้อง เพื่อเปรียบเทียบฝีมือกัน จนกลายมาเป็นชนวนทะเลาะวิวาทบาดหมางระหว่างภรรยาทั้งสอง
ของ พระไวย และจากวันนั้นความสงบสุขในครอบครัวของพระไวยก็หาไม่ได้อีกเลย
และนอกจากนั้น ยังมีคำพังเพยที่นำเอาขนมเบื้องมาเปรียบเปรย โดยมีความหมายกล่าวถึง คนช่างติ หรือ คนที่ดีแต่พูด ว่า “ ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ”
ใกล้วันเลือกตั้งเข้ามาแล้ว ...
ไม่แน่ว่า ... คุณอาจจะได้เห็น ใคร ? บางคน ... ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ก็อาจจะเป็นไปได้เหมือนกันครับ
อนาจจังหนอ ... ชีวิตคนไทย !!!
ผมว่า ... ผม โชคดี นะที่เกิดมาบน ... ผืนแผ่นดินไทย
แต่ผมก็ว่าอีกเหมือนกันว่า ... ผม โชคร้าย ที่ดันเกิดมาเป็น ... คนไทย !!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น