มนตรามหาคาถา
“ บูชาเมีย ”
เปิดฉากมาวันนี้
... ผมคิดว่าเรามา
นินทา ... ม สระ เอีย = เมีย
กันบ้างดีกว่า
ก่อนอื่น
... ใครไม่มีเมีย ... ยกมือขึ้น
คุณรู้มั๊ยว่า
... คุณ คือ คนที่โชคดี ที่สุด
ขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
ทำไม
? หรือ
ครับ
คำพระท่านว่า
... ภรย ตา มา ปรมา ทุขขํ มรณํ
นุสติ
แปลว่า “ การมีภรรยา เป็นทุกข์อย่าง ยิ่งยวบ ...
จวบจนวันตาย ”
แล้วกับคุณ
... คนที่มีเมียแล้วล่ะครับ ...
ผมอยากจะถาม ? ... ก็แค่
คำถามเดียวตอบง่าย ๆ ...
คุณรักเมียคุณ
... ไหมครับ ?
ถ้าคุณรักเมีย
... ผมมี มนตมหาราคาถา “ บูชาเมีย ” มาฝากครับ
ท่องจำเอาไว้ให้ขึ้นใจนะครับ ... วันละ ๒ เวลา / ทุกวัน ตอนเช้า และก่อนเข้านอน
มันจะเป็น ศิริมงคล กับ คุณสามี เป็นอย่างยิ่ง ... เชื่อผมเถอะ !!!
ขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
มนตรามหาคาถา
“ บูชาเมีย ” ...!!!
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณต้อง ทนอดและอดทน ที่สำคัญต้องเป็นคน
... รัก และ เคารพเมีย
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณต้อง ส่งเสียและเลี้ยงดู อย่าให้เมียคุณต้อง ... อดอยาก ปากแห้ง
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณต้อง มีรักเดียวและอย่ามั่วซั่ว ไปรักกับ ... เมียน้อย และ
น้องเมีย
ถ้าคุณรักเมีย
...คุณต้อง ทำใจและปลง ไว้หน่อย นะ ถึงอย่างไร เธอก็คือ ... เมียคุณหาใช่คนอื่นไม่
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณอย่าทำตัวเป็น ขี้เหล้า เพราะถ้าเมียเหงา
คุณจะ ... เสียเธอไปให้คนอื่น
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณอย่าทำตัวให้ อ่อนเพลีย เพราะคนรักเมีย
ต้อง ... แข็งแรง และ บึกบึน
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณอย่าทำตัวชอบ เที่ยวดึก เพราะเมาแล้วคุณจะเกิดคึก ... ผิดที่ / ผิดเวลา
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณอย่าออกตัวให้ รุนแรง มากมายนัก คุณค่อย ๆ แซงจะดีกว่า ... อย่าขับเร็วแซงทางโค้ง
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณจะต้อง ยอมลงให้เมีย เพราะว่าเมียคุณจะ ... ไม่ยอมลงให้คุณแน่นอน
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณจะต้อง เข้าใจเมีย เพราะว่าไม่มีใครจะ ... ใหญ่ไปกว่าเมียคุณหรอกน่า
ถ้าคุณรักเมีย
... คุณจะต้อง ไม่ เถียงเมีย เพราะคำพูดเมียคุณ
... เป็นใหญ่มากกว่าทุกคน
และถ้าชาติหน้า
มีจริงฉันใด ฉันนั้น คุณจงจำเอาไว้ว่า ...
คุณต้องรักเมีย รักเมีย และ รักเมีย
คนเป็น
สามี หลาย ๆ คนอ่านมาถึงตรงนี้ ... คุณก็คงมีความเห็นเหมือนกันกับผมว่า
“
รู้อย่างนี้ ... ตรูอยู่เป็น โสด ดีกว่า ”
เรื่องเล่าจากวันวารตอน สบู่
สบู่
เกิดขึ้นมาเป็นครั้งแรก บนแท่นบูชายัญ เมื่อ 2500 ปีที่ผ่านมา
ในโบสถ์ชาวโรมัน ในพิธีบูชายัญ เมื่อมี สัตว์ ถูกเผาบนแท่นบูชายัญ
ไขมันที่ไหลออกมาจากตัวสัตว์ จะนองไปทั่วแท่น และเมื่อฝนตกลงมาถูกไขมันสัตว์ ก็จับตัวแข็งกลายเป็นก้อนไหลลงไปในลำธาร
และเมื่อแม่บ้านเอาผ้ามาซักที่ริมลำธารและได้นำเอาก้อนไขมันนี้ถูผ้า
ปรากฏว่าไขมันสัตว์นี้ทำให้ผ้าสะอาดขึ้น !!!
ดังนั้น
จุดเริ่มต้นของการทำ สบู่ยุคแรก จึงเกิดจาก ชาวสุเมเรียน โดยที่พวกเขาจะต้มน้ำในหม้อให้เดือดแล้วเท ขี้เถ้า
ที่ได้จากการเผาไม้ และไขมันแพะ
ลงไป จากนั้นคนให้เข้ากันแล้วเติม เกลือ ไขมันแพะ ก็จะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งลอยขึ้นมา แต่
สบู่แบบนี้มีข้อเสีย คือ มันจะ นิ่ม และ เละ แตกเป็นชิ้นๆ ได้ง่าย
ขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
ต่อมาเมื่อมี
คนนิยมใช้สบู่ กันเป็นวงกว้างและแพร่หลายมากขึ้น นักประดิษฐ์ จึงหาหนทางในการที่จะทำให้สบู่ใช้ทนทานมากขึ้น
โดยการนำเอาไขที่ได้จากการต้มไปผสมกับสารละลายเกลือแล้วทิ้งไว้ระยะหนึ่ง
ก็จะได้สบู่ที่แข็งกว่าเดิม เพราะ มีเวลา ให้ ก้อนไขมันจับตัว ได้นานขึ้น
ต่อมาใน
ปี ค.ศ. 1879 นายฮาร์เลย์ พร็อกเตอร์ เจ้าของโรงงานสบู่
และ นายเจมส์ แกมเบิล ญาติที่เป็นนักเคมี พบว่า มีสบู่บางส่วน ถูกทิ้งให้ตีผสมอยู่ในเครื่องนานเกินไป
เพราะ คนงานลืมปิดเครื่อง มันไม่เสียแต่กลับมีคุณสมบัติพิเศษบางอย่างที่แตกต่างออกไป
คือมี น้ำหนักเบา จนมันสามารถลอยน้ำได้ เพราะมี ฟองอากาศ อยู่ในเนื้อสบู่มาก
ขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
นายพร็อกเตอร์
นำสบู่นี้ออกจำหน่าย โดยตั้งชื่อว่า ไอวอรี โดยก้อนสบู่มีรอยปรุอยู่ตรงกลางก้อน ทำให้สามารถหักแบ่งครึ่งก้อนได้
ปรากฏว่า
สบู่ ไอโวลี ของเขาขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยทีเดียว
ให้
นายพร็อกเตอร์ กลายเป็นมหาเศรษฐี เจ้าของบริษัทเครื่องอุปโภคขนาดยักษ์
เรียกได้ว่า เขาร่ำรวยขึ้นมาจากฟองสบู่ก็เห็นจะไม่ผิดนัก
!!!
นับตั้งแต่
สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นต้นมา เมืองสยาม ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้เองที่ ชาวต่างชาติ มักนิยมเดินเรือเข้ามาค้าขายกับ เมืองสยาม เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ โปตุเกส
ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น
โดย
ชาวต่างชาติ มักจะมีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ดูทันสมัยนำเข้ามาขายอยู่เสมอ
สินค้ายอดนิยมในสมัยนั้นที่ ชาวญี่ปุ่นนำเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทยคือ สบู่
ที่สามารถใช้ได้ทั้ง ซักผ้า และ ทำความสะอาดร่างกาย
ทั้งที่ความจริง
สบู่ ไม่ใช่สินค้าของญี่ปุ่น แต่เป็น
ชาวยุโรป ที่นำไปค้าขายใน ประเทศญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่นเรียกคำ Soap เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า โซปปุ
ดังนั้น ชาวญี่ปุ่น ที่นำสบู่มาขายในเมืองไทยจึงเรียกตามสำเนียงของตัวเองว่า
โซปปุ
แต่ด้วยภาษาและสำเนียงที่ต่างกัน
ทำให้ คนไทย เรียกเพี้ยนคำว่า
โซปปุ เป็นคำว่า สบู่
สบู่ ... สามารถทำ ความสะอาดร่างกาย
ชะล้าง ... คราบสกปรกภายนอก ออกได้หมด
แต่
สบู่ ... กลับไม่สามารถที่จะทำ ความสะอาดจิตใจ ชะล้าง ... คราบสกปรกภายใน
ได้เลยแม้แต่เพียงน้อยนิด !!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น