ผัวเมียละเหี่ยใจ
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
มาเริ่มวันนี้กันที่
... กลอนสุดรัก จาก คุณสามีสุดแสนดี ถึง คุณภรรยาสุดแสนรัก ที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมานานนับสิบปี
เรามาดูกันซิว่า ... ผัวเมียละเหี่ยใจ คู่นี้ ... สามี จะพูดถึง ภรรเมีย ว่าอย่างไร ?
“
คุณภรรเมียที่ ... แสนรัก เป็นที่สุด
!!!
เมื่อ
แรกรัก น้ำต้มผักแสนขม ก็ว่า ... หวาน !!!
แต่พอ
รัก นั้นมัน จืดจาง แม้น้ำหวานก็ดันมา
... ขมปี๋
อยู่ด้วยกันกับเธอมามานาน
... หลายสิบปี
โธ่อีผี
... อีกกี่ปีมึงจะ ตาย ... ไปจากกู !!! ”
เมื่อ
คุณสามีสุดแสนดี ฝากความมาถึง คุณภรรยา สุดแสนรัก มาแบบนี้ ผมก็ขอหยิบเอา ... กลอนสุดหวาน
จาก คุณภรรยาผู้ดีเลิศ ถึง คุณสามีผู้เป็นที่รัก ... มาดูกันซิว่า คุณภรรเมีย
จะพูดตอบ คุณสามี ว่าอะไร ?
“
คุณสามี ... สุดที่รัก รักที่สุด
คุณนี้เป็น
มนุษย์สุดระยำ ยาก ... ขัดขืน
เมื่อ
แรกรัก กูก็สุดแสนจะ ... กล้ำกลืน
ทั้งยามนอนยามตื่น
กู ... อดทน
ไอ้สัปดน
... มึงเกิดเป็น คน มาได้ไง !!!
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
เป็น
กลอนเชือด กลอนเฉือน ที่ บาดคมลึก
และ ตอกย้ำ ถึง ความรักอมตะ
ที่ ชายหนึ่งและหญิงหนึ่ง มีต่อกันและกัน มากมายจนตัดสินใจใช้อยู่ด้วยกัน
...
และทั้งคู่ก็ได้
พิสูจน์ทราบแล้วว่า ... ความรักอมตะ !!! คืออะไร
?
เรามาปิดท้ายกันที่
... บทสนทนาแห่งความรัก ของ ชายอีกหนึ่ง และ หญิงอีกหนึ่ง ที่กำลังจะ แต่งงาน
... และเริ่มต้นใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอีกคู่หนึ่ง ในอีกไม่นานวันนี้ ...
(
หมายเหตุ : ผมไม่ได้สาระแนไปแอบฟังมาหรอกครับ ... มีคนแอบเอา คลิปเสียง มาให้ผม เลยถือโอกาส ... ถอดเสียง เอามาเผยแพร่ซะเลย
)
เรามาฟัง
.. บทสนทนาแห่งความรัก ของ ชายหนุ่ม กับ หญิงสาว ก่อนแต่งงาน กันดีกว่านะครับ
!!!
ผู้ชาย
: ผมจะรีบ ทำทุกอย่าง ให้เรียบร้อยโดยเร็วที่สุดเลย
... เพื่อ อนาคต ของเราทั้งสอง !!!
ผู้หญิง
: คุณจะไป ... จดทะเบียนฯ
กับฉันที่อำเภอหรือเปล่าล่ะ ?
ผู้ชาย
: แน่นอนที่สุด ... ผมภาวนาให้ ได้ยิน คำนี้จากปากคุณมานานแล้ว
ผู้หญิง
: แล้วคุณจะ เลิกกับฉัน
... มั้ย ?
ผู้ชาย
: ไม่มีทางเด็ดขาดเลย ให้ผม... ตายดับ
ไปต่อหน้า
ผู้หญิง
: ถ้า ฉันงอนคุณ
ขึ้นมา ... คุณจะ ง้อฉัน หรือเปล่า ?
ผู้ชาย
: สำหรับคุณ ผมจะพยายามทำ ทุกวิธี ที่คิด
....ได้เลยเชียวแหละ
ผู้หญิง
: คุณคิดจะ ... รังแกฉัน
.... บ้างมั้ยคะ ?
ผู้ชาย
: ผมคงต้อง ... ฆ่าตัวตาย แน่ๆ
ถ้าจะทำอย่างนั้น ... กับคุณ
ผู้หญิง
: จูบฉัน
... อีกสักครั้งซิคะ
ฟังแค่นี้ก็พอนะครับ
... เพราะเหตุการณ์ต่อจากนี้ เผยแพร่ไม่ได้ครับ !!! ( CENSOR )
แต่
คลิปเสียง หลังจากที่ หนุ่มสาวคู่นี้ แต่งงานกันไปแล้ว 10 ปี ... ผมเอามาเผยแพร่ได้ครับ !!!
คุณก็แค่
... อ่าน บทสนทนาแห่งความรัก ย้อนจาก .... ล่างขึ้นบน
...
เท่านั้นเองครับ !!!
เรื่องเล่าจากวันวารตอน ถนนเจริญกรุง
ปุจฉา
: ถนนสายแรกของประเทศไทย คือ... ถนนสายไหน ?
วิสัชนา
: ถนนสายแรกของประเทศไทย คือ ... ถนนเจริญกรุง
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินธ์ มีชาวต่างชาติเข้ามาพึ่งใบบุญ อยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น
และพวกกงสุลต่างได้เข้าชื่อกัน ขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศ
โดยมีเหตุผลที่ว่า
“พวกเขาเหล่านั้น ที่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ที่ กรุงเทพมหานคร ...
เกิดความไม่สะดวก เนื่องจากไม่มี ถนนหนทาง ที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว หรือ ออกกำลังกาย
ทำให้พากันเจ็บไข้อยู่เนือง ๆ”
ความทราบถึงพระกรรณ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรกให้สร้างถนนสายแรกขึ้นในประเทศไทย เมื่อ วันที่
๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๔ มีความยาวจาก ถนนสนามไชย
ถึง ดาวคะนอง มีความยาว ๘,๕๗๕ เมตร
และโปรดเกล้าฯ
ให้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง
บุนนาค ซึ่ง ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ) ที่ สมุหพระกลาโหม เป็น
แม่กอง และ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เป็น นายงาน
รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่ คูเมืองชั้นใน ถึง ถนนตก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ ตำบลบางคอแหลม เรียกว่า ถนนเจริญกรุงตอนใต้ ( แต่ชาวบ้านเรียกว่า ถนนเจริญกรุงตอนล่าง) ถนนสายนี้ กว้าง ๕ วา ๔ ศอก ( หรือประมาณ
๑๐ เมตร หรือเทียบได้กับถนน ๔ เลน) โดยมี นายเฮนรี อาลาบาศเตอร์
(ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนน และเขียนแผนผังถนน
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
พอมาถึงใน
พ.ศ. ๒๔๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยายมราช (ครุฑ)
เป็น แม่กอง และ พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้าง ถนนเจริญกรุงตอนใน
คือช่วงระยะทางตั้งแต่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
ถึง สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ถนนสายนี้กว้าง ๔ วา โดยสร้างเป็น ถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน
ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด
การก่อสร้าง
ถนนเจริญกรุงตอนใน นี้ เดิมกำหนดให้ ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึง กำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย
แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้
จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต
เมื่อแรกสร้าง
ถนนเจริญกรุง เสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า
ถนนใหม่ และ ชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว ( 新打路 ) แปลว่า ถนนตัดใหม่
ขอขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
ต่อมา
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า ถนนเจริญกรุง
ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อ ถนนบำรุงเมือง และ ถนนเฟื่องนคร
ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น