เรื่องชวนหัว
ฉบับ หลวงตา ๓
คำพระ
หรือ คำที่ใช้พูดกับ พระภิกษุ สำหรับ ฆราวาส นั้น ในบางครั้ง คนนอกวัด
หรือ คนที่ห่างกำแพงวัด มักจะใช้ไม่ค่อยถูก
หรือ พูดไม่เป็น ทำเอาหลาย ๆ ครั้ง ที่ หลาย ๆ คน ไม่กล้าที่จะพูดกับพระ
เพราะไม่รู้จะพูดยังไง ?
อ้ำ
ๆ อึ้ง ๆ อยู่อย่างนั้น
ด้วยเหตุละอันฉะนี้นี่เอง
... ที่หลวงตามักจะพร่ำพรรณนาสอนสั่งกับบรรดาญาติโยมต่าง ๆ ถึงคำพูดหรือเรื่องราวต่าง
ๆ เกี่ยวกับวัด ศาสนา และ พระ !!!
ขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
หลังฉันเพลวันหนึ่ง
... หลวงตา เล่าให้ ญาติโยม ฟังว่า เมื่อหลายวันก่อนที่ผ่านมา หลวงตานอนไม่ค่อยหลับ เลยให้ลูกศิษย์พาไปหาหมอที่คลินิกเปิดใหม่
หมอถามเมื่อเห็นหน้าตาซีดเซียวของหลวงตา
“
หลวงตา เป็นอะไ ร ? ครับ ”
“
อ้อ ... อาตมา จำวัด ไม่ได้เลยจ๊ะ ... โยมหมอ ”
หลวงตาตอบยิ้ม
ๆ
“
อ้าว ... ถ้า หลวงตาจำวัดไม่ได้ แล้ว หลวงตาจะกลับวัด ยังไงครับ ? “
หมอทำหน้างง
ๆ ถามด้วยความสงสัย !!!
หลวงตาได้ยินคำถามหมอก็ทำหน้างง
ๆ ไปด้วยกันกับหมอ
“
ลูกศิษย์พามา ... อาตมา ก็กลับกับลูกศิษย์น่ะซี
โยมหมอ ”
หมอพยักหน้าอย่างเข้าใจ
แต่ก็ยังพึมพำออกมา เพราะยังไม่หายงง
“
เออ ... ยังดีนะที่ ลูกศิษย์ ยังอุตส่าห์ จำวัด ได้ ... ไม่งั้นแย่เลย ”
หลวงตาได้ยินคำพูดพึมพำของหมอ
“
โยมหมอ ... ลูกศิษย์น่ะ จำวัด ไม่ได้หรอก ... จะมีก็แต่ พระ เท่านั้นแหละที่
จำวัด ได้”
หมอยิ่งงงหนักเข้าไปใหญ่
!!!
หมายเหตุ
: ภาษาพระ จำวัด : นอน
เรื่องเล่าจากวันวาร
ตอน ขนมปลากริม + ไข่เต่า
ขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
ขนมแชงมา
หรือ ขนมแฉ่งม้า คือ ขนมไทยโบราณ
ที่มีตำนานเล่าขานกันมาตั้งแต่ สมัยโบราณ เพราะชื่อขนมชนิดนี้
ปรากฏอยู่ในบทเพลงกล่อมเด็กในสมัยนั้น ที่มีเนื้อร้องว่า
"โอ้ละเห
.... โอ้ละหึก .... ลุกขึ้นแต่ดึก ทำขนมแฉ่งม้า
ผัวก็ตี
... เมียก็ด่า ... ขนมแฉ่งม้าก็คา ... หม้อแกง
!!!
"
กล่าวกันว่า
... ขนมแชงมา หรือ ขนมแฉ่งม้า
นั้นเป็น การผสมขนมไทย ๒ ชนิดเข้าด้วยกัน
โดย ขนมไทยทั้ง ๒ ชนิดนั้น ชนิดที่ ๑ ใช้ แป้งขนม ที่นำมาปั้นเป็น ตัวเรียวยาว
ต้มกับน้ำ และน้ำตาลปึก ให้ออกรสหวาน จนมีสีน้ำตาลอ่อนๆ เรียกว่า ...ขนม ปลากริม ชนิดหนึ่ง กับ อีกชนิดหนึ่งใช้ แป้งขนม นำมาปั้นเป็น ตัวกลมๆ ( หรือตัว เรียวยาว ) ต้มกับกะทิให้เนื้อข้น
จากนั้นเติมเกลือให้มีรสเค็ม เรียกว่า ... ขนมไข่เต่า
ขนมทั้ง
๒ ชนิด แยกกันกิน ขนมปลากริม กินเป็น ขนมหวาน และ ขนมไข่เต่า กินเป็น
ขนมเค็ม
ขอบคุณภาพประกอบ : GOOGLE
ต่อมาในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ในครั้งนั้นมีท่านผู้รู้ได้แจ้งให้กับ
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารคาว-หวาน
และผู้แต่งตำรา แม่ครัวหัวป่าก์
ให้ทราบความว่า ขนมประกริม และ ขนมไข่เต่า นั้น หากนำขนมทั้งสองชนิดนี้มาผสมกัน
ก็จะทำให้ขนมมีรสชาติดีขึ้น และเมื่อผสมขนมทั้งสองชนิดนี้เข้าด้วยกันแล้วก็จะเรียกว่า
... ขนมแชงม้า หรือ ขนมแฉ่งม้า !!!
หากไม่นำขนมทั้ง
๒ ชนิดมาผสมกัน ก็จะเรียกชื่อขนมตามเดิมว่า ขนมปลากริม และ ขนมไข่เต่า
และอีกนานต่อมาเท่าไหร่ไม่ปรากฏ ขนมแชงม้า หรือ ขนมแฉ่งม้า ที่หลายคนรู้จักกันนั้น
ก็กลับมาเรียกชื่อตามชื่อขนมเดิมก่อนผสมเข้าด้วยกัน
และเรียกชื่อขนมชนิดนี้มาจนปัจจุบันว่า
... ขนมปลากริมไข่เต่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น