ทุภาษิตคำกลอน ...
เปิดฉากวันนี้กันด้วย ... ทุภาษิตคำกลอน
ของ เณรแก้ว
คำกลอน ไร้รูปแบบ มีสาระ
(บางครั้ง) ไม่มีสาระ (บางที)
ตามแต่ ... วาทะกรรมคนเขียน
(ที่ไร้สาระอยู่บ่อย ๆ)
อย่าไปเอาอารมณ์ อะไร ? กับคนเขียนเลยครับ
อ่านเอาเรื่องสนุก ๆ ... สัปโดก สัปดน กันไป
!!!
ไม่แน่นะครับ ... !!!
คุณอาจจะอารมณ์ดีขึ้นมาบ้างก้อได้
...ใคร ? จะไปรู้
คนเขาว่า
กำแพงมีหู ประตูมีช่อง !!! เห็น
เป็นร่องเป็นรอย ... กระไรหนอ
มี เบี้ยน้อยหอยน้อย ไม่เพียงพอเหมือน ... จุดไต้ตำตอ !!! หงอเซียงซือ
ไปที่ไหน ใคร ๆ ต่างกล่าวขาน เที่ยวไหว้วาน
... ปากว่า ตาขยิบ !!!
ถ้า พูดชั่วตัวตาย ทำลายมิตร กินน้ำพริกถ้วยเก่า
!!!
... เหงาแทบตาย
ชอบทำตัวเหมือน น้ำซึมบ่อทราย !!! ไม่คลาดแคลายกลายมาเป็น
... คนบ้า
คนดาษดื่นทั่วไปไม่นำพา เพราะ ... ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
!!!
ไม่ว่ากัน
ตรูทนยอม ฝนทั่งให้เป็นเข็ม !!! นั่งตัวเกร็ง ทำท่าเซ็ง ... ไม่เห็นขัน
มันนั่งนิ่ง หงิมๆ หยิบชิ้นปลามัน !!! ได้แต่ฝัน
ได้แต่พร่ำ ... พรรณนา
เกิดเป็นคนมีค่าแค่ ... ตัวเหลือบ
มีแต่เปลือกใส ๆ ใส่เกศา
วันทั้งวัน ลางเนื้อชอบลางยา !!! ให้ตายห่า ... ศรศิลป์ไม่กินกัน !!!
มึงมานั่ง ทำไม ? ที่ตรงนี้ ไม่เห็นมี ... เรื่องอันใด ให้ขัดขืน
ทำเป็น คลื่นกระทบฝั่ง !!! ไม่ยั่งยืน
... ไม่อยากฝืน กินเหล้าเมาแทบตาย
ก็บอกแล้ว ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก !!! ไม่ต้องคิดเรื่องราว ... ต่อเป็นสาย
แม้เจ็บแล้วเจ็บเล่า เฝ้าเจ้านาย เอา เข้าด้ายเข้าเข็ม
!!! ... เจ็บเป็นเบือ
ว่าจะเอาไม้ยาวไปสอย ... ยอดมะเขือ
พริกกะเกลือ จิ้มกินกันขมันขมี
บนข้าวผี ตีข้าวพระ !!! หลับ ๓ ปี โถไอ้ผีเอา ผักชีโรยหน้า !!! ...
หาไม่เจอ
ฝากไปบอก ลูกขุนพลอยพยัก !!! จะนั่งพักที่ริมทางหว่างวิถี
จะ ลูกผีลูกคน !!! ...
ขอไปที ไป เจอหมี เจอหมา หน้าไม่อาย
สัปเหร่อหน้าเซ่อเดินเป๋อเหลอ เป็น กระเชอก้นรั่ว
!!! ... มั่วชิ_หาย
ตรูกินเหล้าเมาพับ ... หลับเป็นตาย มือไม่พาย
เท้าราน้ำ !!! นั่งสั่นคอ
นี่แหละหนอ ... ชีวิต คิดแล้วเศร้า มันหงอยเหงา อยู่คนเดียว กระหรูจู๋
ไม่มีเมีย ไม่มีใคร คอยช่วยดู ป้ากะปู่
กู้อีจู้ ... รู้ตั้งนาน
ทุภาษิตคำกลอน เณรแก้วบอก เข้าตามตรอก
ออกตาม ... ประตู
!!! รู้บ้างไหม ?
ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา !!! นั่นปะไร
? ตกกะไดพลอยโจน !!! ... โหนเถาวัลย์
คำโบราณให้ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน !!! ครั้นเนิ่นนานความหวานก็จางหาย
ใครบังคับไม่ให้กิน หิวแทบตาย เป็น เบี้ยบ้ายรายทาง
!!! หนทางเดิน
ถึงเป็น เณร ก็เป็น เณร สี่จุดศูนย์
( ๔.๐ ) ไม่สาบสูญ สำนวนไทย ไปที่ไหน ?
ปากปราศรัย ใจเชือดคอ !!! ไม่เป็นไร ? หนังหน้าไฟ !!! คอย สาวไส้ให้กากิน !!!
จุดประกายความหวังที่สดใส ... ทุภาษิต แบบไทย ๆ ไฉนหนา
ที่ เณรแก้ว สอนสั่งไม่นำพา จำเอามา
... บอกเล่าต่อกันฟัง
ก็เพื่อหวังที่จะ สร้างวิมาน ในอากาศ !!! จะกี่ชาติ กี่ภพ ก็ ... ไม่สน
จะเป็นบาป เป็นกรรม บุญไม่ปน ... สัปโดก สัปดน
คนกาพย์กลอน
ขอจำใจ จำจาก ... เจ้าไปก่อน จำใจจาก
จำจร ... เจ้าละหนอ
ขอใจจำ จากเจ้าไป ... ก่อนลงกลอน หัวถึงหมอน จำวัด
... หลับสบาย !!!
เรื่องเล่าจากวันวารตอน น้ำพริกลงเรือ
กล่าวกันว่า น้ำพริกลงเรือ นั้นต้นกำเนิดมาจาก
ตำหนัก ของ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ
ปิยมหาราชปดิวรัดา พระอัครชายาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ควบคุมห้องเครื่องต้น
มีหน้าที่ คอยดูแลพระกระยาหาร ถวาย สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
(รัชกาลที่ ๕)
โดยผู้คิดค้นสูตร น้ำพริกลงเรือ คือ หม่อมราชวงศ์สดับ
ลดาวัลย์ พระนัดดา (หลาน) ใน พระวิมาดาเธอ
พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ฯ ซึ่งประจำห้องเครื่องใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฯ กับ พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ฯ
ที่มาของสูตรน้ำพริกลงเรือ ก็มีอยู่ว่า
วันหนึ่ง พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ฯ มีพระประสงค์จะเสวยอาหารในเรือ ดังนั้น เจ้าฟ้านิภานภดล
ฯ จึงรับสั่งให้ ม.ร.ว. สลับ ลดาวัลย์ ไปดูในครัวว่ามีอาหารอะไร ? นำมาถวายบ้าง
เมื่อ ม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ เดินไปสำรวจอาหารในห้องเครื่อง
ก็พบว่าเหลือเพียง ปลาดุกทอดฟู และ น้ำพริกกะปิ เท่านั้น
จึงนำน้ำพริกกับปลาลงกระทะผัดรวมกัน เติม หมูหวาน ตามด้วย ไข่เค็ม (ใช้เฉพาะไข่แดงดิบ)
วางเรียงรายตามลงไป จากนั้นจัดเครื่องเคียง เช่น ผักต้ม ผักสด
จากนั้น ม.ร.ว. สดับ ลดาวัลย์ นำน้ำพริกสูตรใหม่นี้ ขึ้นถวายเป็นอาหารมื้อเย็นบนเรือ
ซึ่งทั้ง พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ฯ และ เจ้าฟ้านิภานภดล ฯ เสวยแล้วทรงเอร็ดอร่อย และ ทรงโปรดน้ำพริกถ้วยนี้เป็นอย่างมาก จึงรับสั่งให้เรียกกับ
น้ำพริกสูตรใหม่นี้ว่า น้ำพริกลงเรือ สืบมาจนถึงปัจจุบัน
ปิดท้ายกันด้วย ... อาหารตำรับชาววัง
ที่เรา ชาวบ้าน ได้มีโอกาสลิ้มลอง
น้ำพริกลงเรือ ... ที่ยกสำรับมากินกันที่ ชานเรือน !!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น